วัดโลกยสุธาหรือวัดพระนอน ตั้งอยู่ในกาะเมืองอยุธยาด้านทิศตะวันตก ติดกับวัดวรเชษฐารามทางด้านทิศใต้ ในตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากประวัติศาสตร์ความเป็นมา ไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสร้างว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จากการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของปรางค์ประธานภายในวัดที่คล้ายคลึงกับพระปรางค์ วัดราชบูรณะ พระปรางค์วัดมหาธาตุ และพระปรางค์วัดส้ม ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น วัดแห่งนี้จึงน่าจะสร้างขึ้นในช่วงสมัยอยุธยาตอนต้นเช่นเดียวกัน
ลักษณะรูปแบบแผนผังของวัดวงตัวตามแนวแกนทิศตะวันออก - ตะวันตก มีปรางค์ประธานตั้งอยู่เป็นจุดศูนย์กลางของวัด ด้านหน้าปรางค์ประธานมีวิหารสามหลังตั้งเรียงกัน ด้านหลังปรางค์ประธานเป็นอุโบสถ และเป็นวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์
จากการขุดค้นทางโบราณคดีในบริเวณพื้นที่วัด พบว่าวัดโลกยสุธาราม เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น และมีการใช้ประโยชน์พื้นที่ภายในวัดเรื่อยมาจนถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย ในปี พ.ศ.2497 ได้มีการบูรณะองค์พระพุทธไสยาสน์โดยการห่อหุ้มองค์พระใหม่ทั้งองค์ พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนรูปแบบเศียรองค์พระเป็นแบบพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมศิลปากร
วัดโลกยสุธาหรือวัดพระนอน ตั้งอยู่ในกาะเมืองอยุธยาด้านทิศตะวันตก ติดกับวัดวรเชษฐารามทางด้านทิศใต้ ในตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากประวัติศาสตร์ความเป็นมา ไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสร้างว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จากการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของปรางค์ประธานภายในวัดที่คล้ายคลึงกับพระปรางค์ วัดราชบูรณะ พระปรางค์วัดมหาธาตุ และพระปรางค์วัดส้ม ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น วัดแห่งนี้จึงน่าจะสร้างขึ้นในช่วงสมัยอยุธยาตอนต้นเช่นเดียวกัน
ลักษณะรูปแบบแผนผังของวัดวงตัวตามแนวแกนทิศตะวันออก - ตะวันตก มีปรางค์ประธานตั้งอยู่เป็นจุดศูนย์กลางของวัด ด้านหน้าปรางค์ประธานมีวิหารสามหลังตั้งเรียงกัน ด้านหลังปรางค์ประธานเป็นอุโบสถ และเป็นวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์
จากการขุดค้นทางโบราณคดีในบริเวณพื้นที่วัด พบว่าวัดโลกยสุธาราม เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น และมีการใช้ประโยชน์พื้นที่ภายในวัดเรื่อยมาจนถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย ในปี พ.ศ.2497 ได้มีการบูรณะองค์พระพุทธไสยาสน์โดยการห่อหุ้มองค์พระใหม่ทั้งองค์ พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนรูปแบบเศียรองค์พระเป็นแบบพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมศิลปากร