สมัยกรุงธนบุรีประมาณ พ.ศ. 2310 พระเจ้าองค์เวียนดาแห่งนครเวียงจันทน์ ได้สิ้นพระชนม์ โอรสท้าวเพี้ยเมืองแสนได้ยกกองทัพเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์และได้สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบแทนทรงพระนามว่า พระเจ้าศิริบุญสาร
พ.ศ. 2320 ท้าวโสมพะมิตร และอุปฮาดเมืองแสนฆ้องโปง เมืองแสนหน้าง้ำ เกิดขัดใจกับพระเจ้าศิริบุญสารจึงรวบรวมผู้คนอพยพจากดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงข้ามมาตั้งบ้านเรือน บริเวณลุ่มน้ำก่ำ แถบบ้านพรรณา (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร)
ต่อมาท้าวศิริบุญสารได้ยกกองทัพติดตามมา ท้าวโสมพะมิตรจึงอพยพต่อไปโดยแยกเป็น 2 สาย คือ
- สายที่ 1 เมืองแสนหน้าง้ำเป็นหัวหน้า อพยพไปทางทิศตะวันออก สมทบกับพระวอหลบหนีไปจนถึงนครจำปาศักดิ์ขอพึ่งบารมีของพระเจ้าหลวงแห่งนครจำปาศักดิ์ และตั้งบ้านเรือน ณ ดอนค้อนก่อง ต่อมาเรียกว่า ค่ายบ้านดู่บ้านแก ในปี พ.ศ. 2321 พระเจ้าศิริบุญสาร ให้เพี้ยสรรคสุโภย ยกกองทัพมาปราบพระวอตายในสนามรบ ผู้คนที่เหลือจึงอพยพไปอยู่ในเกาะกลางลำแม่น้ำมูล ชื่อว่า ดอนมดแดง (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี)
- สายที่ 2 มีท้าวโสมพะมิตรเป็นหัวหน้า ได้อพยพข้ามสันเขาภูพานลงมาทางใต้ และตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านกลางหมื่น ต่อมาท้าวโสมพะมิตรได้ส่งท้าวตรัยและคณะออกเสาะหาชัยภูมิที่จะสร้างเมืองใหม่ใช้เวลาประมาณปีเศษ จึงพบทำเลที่เหมาะสมคือบริเวณลำน้ำปาวและเห็นว่าแก่งสำโรงชายสงเปลือยมีดินน้ำอุดมสมบูรณ์ จึงอพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือนและได้จัดตั้งศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
พ.ศ. 2336 ท้าวโสมพะมิตรได้นำเครื่องบรรณาการ คือ กาน้ำสัมฤทธิ์ เข้าถวายสมามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี และขอตั้งบ้านแก่งสำโรง ขึ้นเป็นเมืองได้รับพระราชทานว่า กาฬสินธุ์ และได้แต่งตั้งให้ท้าวโสมพะมิตรเป็น พระยาชัยสุนทร
พ.ศ. 2437 สมัยพระยาชัยสุนทร (ท้าวเก) ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาล มี มณฑล อำเภอ ตำบล และให้เมืองกาฬสินธุ์ เป็น อำเภออุทัยกาฬสินธุ์ ขึ้นกับจังหวัดร้อยเอ็ด
วันที่ 1 สิงหาคม 2456 ได้ยกฐานอำเภออุทัยกาฬสินธุ์เป็น จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้มีอำนาจปกครอง อำเภออุทัยกาฬสินธุ์ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอกมลาไสย และอำเภอยางตลาด โดยให้ขึ้นต่อมณฑลร้อยเอ็ด
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2474 จังหวัดกาฬสินธุ์ถูกยุบเป็นอำเภอ ขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม และ 1 ตุลาคม 2490 ได้ยกฐานะเป็น จังหวัดกาฬสินธุ์ จนถึงปัจจุบัน
ทางรถยนต์
จากกรุงเทพฯ-กาฬสินธุ์ ระยะทาง 519 กิโลเมตร ใช้เส้นทาง กรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2) ถึงอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ต่อด้วยเส้นทางหลวงหมายเลข 23 และทางหลวงหมายเลข 213 มหาสารคาม-กาฬสินธุ์
ทางรถโดยสาร
บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดบริการเดินรถกรุงเทพฯ-กาฬสินธุ์ทุกวัน โดยมีบริการทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ
ทางรถไฟ
ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ-สถานีรถไฟขอนแก่น จากขอนแก่นต่อรถประจำทางเข้ากาฬสินธุ์อีก 75 กิโลเมตร สำหรับกรุงเทพฯ - ขอนแก่นนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดบริการทั้งขบวนรถเร็ว รถด่วน และรถดีเซลรางปรับอากาศ
ทางเครื่องบิน
ต้องไปลงที่จังหวัดขอนแก่น แล้วต่อรถยนต์โดยสารเข้ากาฬสินธุ์
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอ และกิ่งอำเภอต่างๆ
อำเภอเมือง - อำเภอยางตลาด 16 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอกมลาไสย 13 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอสหัสขันธ์ 33 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอสมเด็จ 35 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอกุฉินารายณ์ 78 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอท่าคันโ 99 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอห้วยเม็ก 49 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอคำม่วง 79 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอหนองกุงศรี 62 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอนามน 42 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอเขาวง 98 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอห้วยผึ้ง 58 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอร่องคำ 38 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอนาคู 88 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอสามชัย 85 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอดอนจาน 32 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอฆ้องชัย 38 กิโลเมตร