วัดป่าโมกวรวิหาร ตั้งอยู่ที่เขตเทศบาลตำบลป่าโมก ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกห่างจากอำเภอ เดิมมีวัด 2 วัด อยู่ติดกัน คือ วัดตลาดกับวัดชีปะขาว วัดป่าโมกวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่ งดงามมากองค์หนึ่งของประเทศไทย มีความยาวจากพระเมาลี ถึงปลายพระบาท 22.58 เมตร ก่ออิฐถือปูนปิดทอง องค์พระนี้สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยสุโขทัยมีประวัติความเป็นมา น่าอัศจรรย์ เล่าขานมาว่า ได้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัดราษฎร บวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ และเป็น 1 ใน 7 วัด พระใหญ่ในที่อ่างทอง
ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก่อนจะยกทัพไปรบกับพระมหา อุปราชได้ เสด็จมาชุมนุมพล และถวายสักการะ บูชาพระพุทธรูปองค์นี้ ในปีพ.ศ. 2269 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระได้ เสด็จมาควบคุมการชลอองค์พระให้พ้นจากกระแสน้ำเซาะตลิ่งพัง ไปไว้ยังวิหารใหม่ที่วัดตลาด ห่างจากฝั่ง แม่น้ำ 168 เมตรแล้ว โปรดให้รวมทั้งสองวัดเป็นวัดเดียวกัน พระราชทานนามว่า วัดป่าโมก เพราะบริเวณนั้นมีต้นโมกมากมาย
ในตำนานที่ว่าพระนอนพูดได้นั้น มีเรื่องเล่าสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่ามีการระบาดอหิวาตกโรคในบ้านป่าโมก พระรูปหนึ่งนามว่าพระโต ได้อาพาธด้วยอหิวาตกโรค รักษายังไงก็ไม่หาย ตอนนั้น สีกาเหลียนที่เป็นหลานของพระโตได้ไปอธิษฐานต่อองค์พระนอน ทันใดนั้นก็บังเกิดเสียงตอบออกมาจากพระอุระ(อก) ของพระนอน บอกถึงตัวยาที่จะรักษาพระโตให้หาย สีกาเหลียนจึงไปเก็บใบยาตามนั้น มาปรุงยารักษาพระโต จนหาย
สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ ยังมีอยู่มากมาย อาทิ เช่น พระวิหารพระพุทธไสยาสน์วิหารเขียน มณฑป พระพุทธบาท 4 รอย เป็นต้นครับ
งานนมัสการพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก จัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง คือ ขึ้น 14 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำเดือน 4 ช่วงหนึ่ง และอีกช่วงหนึ่งระหว่างขึ้น 12 – 15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี
วัดป่าโมกวรวิหาร ตั้งอยู่ที่เขตเทศบาลตำบลป่าโมก ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกห่างจากอำเภอ เดิมมีวัด 2 วัด อยู่ติดกัน คือ วัดตลาดกับวัดชีปะขาว วัดป่าโมกวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่ งดงามมากองค์หนึ่งของประเทศไทย มีความยาวจากพระเมาลี ถึงปลายพระบาท 22.58 เมตร ก่ออิฐถือปูนปิดทอง องค์พระนี้สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยสุโขทัยมีประวัติความเป็นมา น่าอัศจรรย์ เล่าขานมาว่า ได้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัดราษฎร บวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ และเป็น 1 ใน 7 วัด พระใหญ่ในที่อ่างทอง
ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก่อนจะยกทัพไปรบกับพระมหา อุปราชได้ เสด็จมาชุมนุมพล และถวายสักการะ บูชาพระพุทธรูปองค์นี้ ในปีพ.ศ. 2269 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระได้ เสด็จมาควบคุมการชลอองค์พระให้พ้นจากกระแสน้ำเซาะตลิ่งพัง ไปไว้ยังวิหารใหม่ที่วัดตลาด ห่างจากฝั่ง แม่น้ำ 168 เมตรแล้ว โปรดให้รวมทั้งสองวัดเป็นวัดเดียวกัน พระราชทานนามว่า วัดป่าโมก เพราะบริเวณนั้นมีต้นโมกมากมาย
ในตำนานที่ว่าพระนอนพูดได้นั้น มีเรื่องเล่าสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่ามีการระบาดอหิวาตกโรคในบ้านป่าโมก พระรูปหนึ่งนามว่าพระโต ได้อาพาธด้วยอหิวาตกโรค รักษายังไงก็ไม่หาย ตอนนั้น สีกาเหลียนที่เป็นหลานของพระโตได้ไปอธิษฐานต่อองค์พระนอน ทันใดนั้นก็บังเกิดเสียงตอบออกมาจากพระอุระ(อก) ของพระนอน บอกถึงตัวยาที่จะรักษาพระโตให้หาย สีกาเหลียนจึงไปเก็บใบยาตามนั้น มาปรุงยารักษาพระโต จนหาย
สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ ยังมีอยู่มากมาย อาทิ เช่น พระวิหารพระพุทธไสยาสน์วิหารเขียน มณฑป พระพุทธบาท 4 รอย เป็นต้นครับ
งานนมัสการพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก จัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง คือ ขึ้น 14 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำเดือน 4 ช่วงหนึ่ง และอีกช่วงหนึ่งระหว่างขึ้น 12 – 15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี