วัดสระเกษ ตั้งอยู่ที่ บ้านสระเกษ หมู่ที่ 7 ตำบลไชยภูมิ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง วัดสระเกษ เดิมชื่อ "วัดเสาธงหิน" สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1892 เป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
ตามประวัติเล่าว่า ในราวปี พ.ศ. 2128 พม่าได้ยกกองทัพมารุกรานกรุงศรีอยุธยา โดยพระเจ้าหงสาวดีสั่งให้เจ้าเชียงใหม่ยกทัพมาตี จนในเช้าตรู่วันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงยกทัพออกมาตั้งรับกองทัพพม่าที่บ้านสระเกษและทรงได้รับชัยชนะ พวกกองทัพไทยต่างยินดีและไชโยโห่ร้องรื่นเริง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงรับสั่งให้พักกองทัพ ส่วนพระองค์ได้สรงน้ำชำระพระวรกาย ล้างพระพักตร์ และสระพระเกศา ณ ที่นี้ ด้วยเหตุนี้ จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดนี้เป็น "วัดสระเกษ" และ "บ้านสระเกษ"
วัดสระเกษ ตั้งอยู่ที่ตำบลไชยภูมิ อำเภอไชโย จากอ่างทองใช้ทางหลวงหมายเลข 334 ประมาณ 3.7 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (อ่างทอง-สิงห์บุรี) อีกประมาณ 15 กิโลเมตร
ข้อมูลอ้างอิงจาก : angthong.go.th
วัดสระเกษ ตั้งอยู่ที่ บ้านสระเกษ หมู่ที่ 7 ตำบลไชยภูมิ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง วัดสระเกษ เดิมชื่อ "วัดเสาธงหิน" สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1892 เป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
ตามประวัติเล่าว่า ในราวปี พ.ศ. 2128 พม่าได้ยกกองทัพมารุกรานกรุงศรีอยุธยา โดยพระเจ้าหงสาวดีสั่งให้เจ้าเชียงใหม่ยกทัพมาตี จนในเช้าตรู่วันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงยกทัพออกมาตั้งรับกองทัพพม่าที่บ้านสระเกษและทรงได้รับชัยชนะ พวกกองทัพไทยต่างยินดีและไชโยโห่ร้องรื่นเริง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงรับสั่งให้พักกองทัพ ส่วนพระองค์ได้สรงน้ำชำระพระวรกาย ล้างพระพักตร์ และสระพระเกศา ณ ที่นี้ ด้วยเหตุนี้ จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดนี้เป็น "วัดสระเกษ" และ "บ้านสระเกษ"
วัดสระเกษ ตั้งอยู่ที่ตำบลไชยภูมิ อำเภอไชโย จากอ่างทองใช้ทางหลวงหมายเลข 334 ประมาณ 3.7 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (อ่างทอง-สิงห์บุรี) อีกประมาณ 15 กิโลเมตร
ข้อมูลอ้างอิงจาก : angthong.go.th