พระตำหนักคำหยาด ตั้งอยู่ที่ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง พระตำหนักที่ปลีกวิเวกของ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ผู้ไม่พิสมัยในราชบัลลังก์ ได้สละราชสมบัติให้พระเชษฐา พระเจ้าเอกทัศน์ แล้วเสด็จลงเรือพระที่นั่งไปทรงผนวชที่วัดโพธิ์ทองคำหยาด แล้วได้ปลีกวิเวกประมาทับที่ พระตำหนักคำหยาด พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระราชบิดาสร้างไว้ เป็นที่ประทับแรมเมื่อเสด็จประพาสเมืองอ่างทอง
พระตำหนักคำหยาดตามพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา หลายฉบับมีปรากฏว่า "ปีมะโรง โทศก เดือน 8 ข้างขึ้น (พ.ศ.2303) กรมขุนพรพินิจ (พระเจ้าอุทุมพร) เสด็จลงเรือพระที่นั่งออกไป ณ สัดโพธิ์ทองคำหยาด ทรงผนวชแล้วเสด็จกลับเข้ามาอยู่ ณ วัดประดู่ ดังแต่ก่อน" แสดงให้เห็นว่า กรมขุนพรพินิจ ได้เสร็จมาผนวช ซึ่งพระองค์จะต้องมาประทับที่พระตำหนักคำหยาดแห่งนี้แน่นอน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จทอดพระเนตรพระตำหนักคำหยาดเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2451 และทรงมีพระราชวินิจฉัยดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาเรื่องเสด็จลำน้ำมะขามเฒ่าว่า "พระตำหนักนี้คงจะได้สร้างเมื่อขุนหลวงบรมโกศเสด็จประภาสตามแถบเมืองอ่างทองเนืองๆ จนถึงได้เสด็จพระนอนขุนอินทรประมูลถึง 2 ครั้ง ทรงปฏิสังขรณ์ ทั้งพระนอนจักรสีห์ พระนอนขุนอินทรประมูลที่ตำหนักคำหยาดนี้ทรงได้สร้างไว้เป็นที่ประทับออกมาเนืองๆ"
ตามเรื่องเล่า บอกว่า พระตำหนักคำหยาดยังเป็นสถานที่รวบรวมและนัดหมาย ของเหล่าขุนศึก นักรบ ปู่ดอก ปู่ทองแก้ว และชาวบ้าน ก่อนยกไปตั้งค่ายที่ "บ้านบางระจัน" พลีชีพ ต้านศึกอังวะ หลังจากนั้นอีก 8 เดือน กรุงศรีอยุธยาก็แตกให้แก่พม่า พระเจ้าเอกทัศน์หนีไปแล้วอดอาหาร สวรรคตในดงต้นจิก บ้างว่าถูกพม่าสังหารแล้วฝังพระศพไว้ พระเจ้าตากสินสั่งให้ทหารขุดมาทำพิธิถวายพระเพลิงศพ เจ้าฟ้าอุทุมพรถูกจับและกวาดต้อนไปยังประเทศพม่า ทั้งที่ยังทรงครองเพศบรรชิต มีบันทึกในพงศาวดารพม่า "คำให้การขุนหลวงหาวัด" หรือ "คำให้การชาวกรุงเก่า"
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : อนุรักษ์ ศิลป์ กลุ่มสืบสานตำนาน ศิลปะ พระเครื่องเมืองอ่างทองและเพจเรื่องเล่าชาวอ่างทอง
พระตำหนักคำหยาด ตั้งอยู่ที่ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง พระตำหนักที่ปลีกวิเวกของ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ผู้ไม่พิสมัยในราชบัลลังก์ ได้สละราชสมบัติให้พระเชษฐา พระเจ้าเอกทัศน์ แล้วเสด็จลงเรือพระที่นั่งไปทรงผนวชที่วัดโพธิ์ทองคำหยาด แล้วได้ปลีกวิเวกประมาทับที่ พระตำหนักคำหยาด พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระราชบิดาสร้างไว้ เป็นที่ประทับแรมเมื่อเสด็จประพาสเมืองอ่างทอง
พระตำหนักคำหยาดตามพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา หลายฉบับมีปรากฏว่า "ปีมะโรง โทศก เดือน 8 ข้างขึ้น (พ.ศ.2303) กรมขุนพรพินิจ (พระเจ้าอุทุมพร) เสด็จลงเรือพระที่นั่งออกไป ณ สัดโพธิ์ทองคำหยาด ทรงผนวชแล้วเสด็จกลับเข้ามาอยู่ ณ วัดประดู่ ดังแต่ก่อน" แสดงให้เห็นว่า กรมขุนพรพินิจ ได้เสร็จมาผนวช ซึ่งพระองค์จะต้องมาประทับที่พระตำหนักคำหยาดแห่งนี้แน่นอน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จทอดพระเนตรพระตำหนักคำหยาดเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2451 และทรงมีพระราชวินิจฉัยดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาเรื่องเสด็จลำน้ำมะขามเฒ่าว่า "พระตำหนักนี้คงจะได้สร้างเมื่อขุนหลวงบรมโกศเสด็จประภาสตามแถบเมืองอ่างทองเนืองๆ จนถึงได้เสด็จพระนอนขุนอินทรประมูลถึง 2 ครั้ง ทรงปฏิสังขรณ์ ทั้งพระนอนจักรสีห์ พระนอนขุนอินทรประมูลที่ตำหนักคำหยาดนี้ทรงได้สร้างไว้เป็นที่ประทับออกมาเนืองๆ"
ตามเรื่องเล่า บอกว่า พระตำหนักคำหยาดยังเป็นสถานที่รวบรวมและนัดหมาย ของเหล่าขุนศึก นักรบ ปู่ดอก ปู่ทองแก้ว และชาวบ้าน ก่อนยกไปตั้งค่ายที่ "บ้านบางระจัน" พลีชีพ ต้านศึกอังวะ หลังจากนั้นอีก 8 เดือน กรุงศรีอยุธยาก็แตกให้แก่พม่า พระเจ้าเอกทัศน์หนีไปแล้วอดอาหาร สวรรคตในดงต้นจิก บ้างว่าถูกพม่าสังหารแล้วฝังพระศพไว้ พระเจ้าตากสินสั่งให้ทหารขุดมาทำพิธิถวายพระเพลิงศพ เจ้าฟ้าอุทุมพรถูกจับและกวาดต้อนไปยังประเทศพม่า ทั้งที่ยังทรงครองเพศบรรชิต มีบันทึกในพงศาวดารพม่า "คำให้การขุนหลวงหาวัด" หรือ "คำให้การชาวกรุงเก่า"
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : อนุรักษ์ ศิลป์ กลุ่มสืบสานตำนาน ศิลปะ พระเครื่องเมืองอ่างทองและเพจเรื่องเล่าชาวอ่างทอง